"โทเทเนรุง" (สรรเสริญผู้ตาย) บนระเบียงหน้า "เอเรนฮัลเลอ" (หอเกียรติยศ) ในฉากหลังเป็นที่ชุมนุมนาซี "เอเรนทรีบือเน" (เวทีเกียรติยศ) รูปจันทร์เสี้ยว ในการชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค กันยายน ค.ศ. 1934
การชุมนุมใน ค.ศ. 1935
การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค (หรือ Reichsparteitag ซึ่งเป็นคำที่ทางการเยอรมนีใช้ หมายความว่า "การประชุมของพรรคชาตินิยม") ซึ่งเป็นการชุมนุมประจำปีของพรรคนาซี ระหว่างปี 1923-1938 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 1933 แล้ว ในการชุมนุมจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อขนานใหญ่ Reichsparteitage นั้นถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ ลานชุมนุมของพรรคนาซี ในเมืองเนือร์นแบร์ค ตั้งแต่ปี 1933 เป็นต้นมา
ประวัติและจุดประสงค์
การชุมนุมครั้งแรกของพรรคนาซีได้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1923 ที่เมืองมิวนิก และในปี 1926 ที่เมืองไวมาร์ แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา พรรคนาซีได้ย้ายไปจัดที่เมืองเนือร์นแบร์ค การที่พรรคนาซีได้เลือกเมืองแห่งนี้ก็เพราะว่า มันต้องอยู่ใจกลางเยอรมนีและก็มีผู้ร่วมสนับสนุนอีกด้วย หลังจากปี 1933 การชุมนุมได้ถูกจัดขึ้นในตอนต้นของเดือนกันยายนภายใต้สัญลักษณ์ของ Reichsparteitage des deutschen Volkes ("พรรคชาตินิยมแห่งชาติของปวงชนชาวเยอรมัน") ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชาวเยอรมันกับพรรคนาซี ซึ่งได้ทำให้ผู้สนับสนุนพรรคนาซีได้เพิ่มขึ้นกว่าห้าแสนคนจากพรรค กองทัพและรัฐ
การชุมนุมในแต่ละครั้ง
ครั้งที่
การประชุมชื่อการประชุม
สถานที่
เวลาที่จัด
1
การประชุมพรรคครั้งแรก
มิวนิก
27 มกราคม 1923
2
"การรวมพลวันเยอรมัน""German day rally"
เนือร์นแบร์ค
1 กันยายน 1923
3
การประชุมพรรคครั้งที่สอง
ไวมาร์
4 กรกฎาคม 1926
4
การประชุมพรรคครั้งที่สามวันแห่งการตื่นจากการหลับใหล
เนือร์นแบร์ค
20 สิงหาคม 1927
5
การประชุมพรรคครั้งที่สี่วันแห่งการสงบใจ
เนือร์นแบร์ค
2 สิงหาคม 1929
6
การประชุมพรรคครั้งที่ห้า"รวมพลเพื่อชัยชนะ" (Reichsparteitag des Sieges)
เนือร์นแบร์ค
1933
7
การประชุมพรรคครั้งที่หก"รวมพลเพื่อความสามัคคีและกำลัง" (Reichsparteitag der Einheit und Stärke) "รวมพลเพื่ออำนาจ" (Reichsparteitag der Macht) หรือ "รวมพลเพื่ออุดมการณ์" (Reichsparteitag des Willens)
เนือร์นแบร์ค
1934
8
การประชุมพรรคครั้งที่เจ็ด"รวมพลเพื่ออิสรภาพ" (Reichsparteitag der Freiheit)
เนือร์นแบร์ค
1935
9
การประชุมพรรคครั้งที่แปด"รวมพลเพื่อเกียรติยศ" (Reichsparteitag der Ehre)
เนือร์นแบร์ค
1936
10
การประชุมพรรคครั้งที่เก้า"รวมพลเพื่อความอุตสาหะ" (Reichsparteitag der Arbeit)
เนือร์นแบร์ค
1937
11
การประชุมพรรคครั้งที่สิบ"รวมพลเพื่อเยอรมนีอันยิ่งใหญ่" (Reichsparteitag Großdeutschland)
เนือร์นแบร์ค
1938
12
การประชุมพรรคครั้งที่สิบเอ็ด"รวมพลเพื่อสันติภาพ" (Reichsparteitag des Friedens)
เนือร์นแบร์ค
1939
ระเบียบการประชุม
หลักเกณฑ์พื้นฐานของการชุมนุมแห่งเนือร์นแบร์คก็คือการเพิ่มเติมอำนาจบารมีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งได้พรรณนาถึงฮิตเลอร์ในลักษณะของผู้ที่จะนำพาเยอรมนีไปสู่ความยิ่งใหญ่ ซึ่งถูกรับเลือกจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ฝูงชนที่เข้ามาชุมนุมนั้นก็ได้ฟังคำปราศรัยของท่านผู้นำ สาบานจะมอบความจงรักภักดีแก่เขาและเดินสวนสนามต่อหน้าเขา โดยโฆษณาว่าเป็น "คนของมวลชน" การชุมนุมยังได้ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของประชาชนชาวเยอรมัน ผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมนั้นจะกลายเป็นผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาและระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งพรรคนาซีเปรียบไว้ว่า เหมือนจะเกิดเป็นคนใหม่
อีกส่วนประกอบหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อการชุมนุมแห่งเนือร์นแบร์คนั้นก็คือกชลุ่มคนและขบวนพาเหรดของสมาชิกแห่งพรรนาซี (เช่น หน่วยเอสเอส ฮิตเลอร์เยาว์ เป็นต้น) การชุมนุมนั้นก็ยังเป็นหลักสำคัญของพรรคนาซีที่ได้ประกาศเอาไว้
การแสดงอำนาจนั้นไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะลานชุมนุมเท่านั้น แต่ยังคงมีการจัดกลุ่มผู้ชุมนุมไปถึงตัวเมืองเนือร์นแบร์คเดิมอีกด้วย ที่ซึ่งมีการจัดการเดินสวนสนามขึ้น ฝูงชนนั้นได้เดินสวนสนามผ่านเมืองประวัติศาสตร์ที่ประดับประดาด้วยธงนาซี
ภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ
ทางพรรคนาซีได้เริ่มผลิตภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อเมื่อปี 1927 ซึ่งพรรคได้ก่อตั้งสถานที่ทำภาพยนตร์ขึ้นมา ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังที่สุด ก็คือ ภาพยนตร์ที่ได้รับการกำกับโดย Leni Riefenstahl ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการชุมนุมระหว่างปี 1933 ถึงปี 1935 เธอได้ตั้งชื่อภาพยนตร์ของเธอว่า "ชัยชนะแห่งศรัทธา" (Der Sieg des Glaubens) แลสะหลังจากนั้นก็ได้มีภาพยนตร์ที่ถูกจัดทำโดยพรรคนาซีเกิดขึ้นเรื่อยๆ
หนังสือ
มีหนังสือสองประเภทที่กล่าวถึงการชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค คือ หนังสือของทางการและหนังสือของกึ่งทางการ โดยที่"หนังสือปกแดง" จะหมายถึง หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์โดยพรรคนาซีและได้บันทึกถึงการชุมนุมในแต่ละครั้งอย่างละเอียด ส่วน"หนังสือปกน้ำเงิน" นั้นไม่ได้ถูกตีพิมพ์โดยพรรคนาซี แต่ก็มีความแตกต่างจากหนังสือปกแดงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีภาพสะสมของนายเฮนริช ฮอฟแมน ซึ่งได้ตีพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงการชุมนุมดังกล่าว นอกจากน้นก็ยังมีรวบรวมคำปราศรัยของฮิตเลอร์เอาไว้ด้วย ต่อมา หนังสือทั้งสองแบบนั้นก็ได้เป้นของสะสมที่ล้ำค่าชิ้นหนึ่งของชาวเยอรมัน
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น