กามีย์ ปีซาโร (ฝรั่งเศส: Camille Pissarro) หรือ ฌากอบ-อาบราอาม-กามีย์ ปีซาโร (Jacob-Abraham-Camille Pissarro; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1830 - 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์แบบฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ความสำคัญของกามีย์ ปีซาโรมิใช่เพียงการเขียนภาพแบบอยู่ที่อิมเพรสชันนิสม์แต่ยังเป็นศิลปินคนสำคัญของขบวนการที่รวมทั้งปอล เซซาน และปอล โกแก็ง
ชีวิตเบื้องต้น
ฌากอบ-อาบราอาม-กามีย์ ปีซาโร[1]เกิดที่เมืองชาร์ลอตต์อะมาลี เกาะเซนต์ทอมัสในหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา เป็นลูกของอาบราอาม เกเบรียล ปีซาโร ชาวเซฟาร์ดิกยิวโปรตุเกส และเรเชล มันซานา โพมี จากสาธารณรัฐโดมินิกัน ปีซาโรอยู่ที่เซนต์ทอมัสจนอายุ 12 ปีก่อนจะถูกส่งไปเรียนโรงเรียนประจำที่ปารีส หลังจากนั้นปีซาโรก็กลับไปอยู่เซนต์ทอมัสอยู่ระยะหนึ่งโดยใช้เวลาว่างวาดรูป ปีซาโรมีความสนใจเรื่องการปฏิรูปทางการเมืองทางอนาธิปไตย (Anarchism) ซึ่งอาจจะเป็นความสนใจที่เกิดขึ้นระหว่างที่อยู่ที่เซนต์ทอมัส เมื่อปี ค.ศ. 1852 เดินทางไปประเทศเวเนซุเอลากับฟริทซ์ เมลไบ (Fritz Melbye) ศิลปินชาวเดนมาร์ก
ในปี ค.ศ. 1855 ปีซาโรกลับไปปารีสและเข้าศึกษาในหลายสถาบันรวมทั้งโรงเรียนวิจิตรศิลป์ (École des Beaux-Arts) และสถาบันสวิส (Académie Suisse) และศึกษากับศิลปินหลายคนรวมทั้งฌ็อง-บาติสต์-กามีย์ กอโร (Jean-Baptiste-Camille Corot), กุสตาฟว์ กูร์แบ (Gustave Courbet) และชาร์ล-ฟร็องซัว โดบีญี (Charles-François Daubigny) แต่ผู้ที่มีอิทธิพลที่สุดต่อปีซาโรคือกอโร โดยเฉพาะในงานเขียนสมัยแรก ๆ ในแค็ตตาล็อกสำหรับนิทรรศการศิลปะที่ปารีส (Salon de Paris) ในปี ค.ศ. 1864 และ 1865 ปิซาโรบ่งว่าตัวเองว่าเป็นลูกศิษย์ของกอโร[2] ลักษณะงานที่เด่น ๆ ในสมัยแรกมักจะใช้ฝีแปรงหยาบ ๆ หรือบางที่ก็ใช้มีดปาดสีแทนพู่กันซึ่งเป็นอิทธิพลมาจากกูร์แบ แต่วิธีของปีซาโรเป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์
ปีซาโรแต่งงานกับจูลี เวลเลย์ หญิงรับใช้ในบ้านของแม่ มีลูกด้วยกัน 8 คน คนหนึ่งเสียชีวิตเมื่อแรกเกิด ลูกสาวอีกคนเสียชีวิตเมื่ออายุ 9 ขวบ ลูกที่มีชีวิตอยู่ต่างก็เป็นจิตรกรตามพ่อ ลูกชายคนโตเป็นผู้ติดตามแบบวิลเลียม มอริส (William Morris)
ชีวิตในลอนดอน
ระหว่างสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 1870-1871 ปีซาโรลี้ภัยจากบ้านที่ลูฟว์เซียนเมื่อเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1870 เมื่อปีซาโรกลับมาลูฟว์เซียนเมื่อเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 1871 ก็พบว่าทั้งบ้านและภาพเขียนสมัยต้น ๆ ถูกทำลายโดยทหารปรัสเซีย[3]
เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1870 ปีซาโรย้ายไปลอนดอนในบริเวณที่เวสโทว์ฮิลที่อัปเพอร์นอร์ทวูด ปัจจุบันเรียกกันว่าคริสตัลแพเลซใกล้ซิดแนม (Sydenham) ภาพเขียนในช่วงนี้ทำให้เราเห็นภาพของซิดแนมเมื่อยังเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ติดต่อกับลอนดอนทางรถไฟ ในบรรดาภาพเขียนจากซิดแนม ภาพเขียน “วัดเซนต์บาร์โทโลมิว” (St Bartholomew’s Church)The Avenue, Sydenham, ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ลอนดอน
เมื่อ ค.ศ. 1939 ลูโดวิค โรดอลฟลูกชายคนที่ห้าและไลโอเนลโล เวนทูริรวบรวมแค็ตตาล็อกที่รวมภาพเขียนที่ปีซาโรเขียนที่ลอนดอน 12 ภาพรวมทั้งภาพ “นอร์ธวูดในหิมะ” (Norwood Under the Snow) และ “สถานีลอร์ดชิพเลน” (Lordship Lane Station) [4]ทิวทัศน์ของคริสตัลแพเลซที่ย้ายมาจากไฮพาร์ค, “วิทยาลัยดัลลิช” (Dulwich College), “เนินซิดแนม” (Sydenham Hill), “วัดออลเซนต์” (All Saints Church) และภาพเซนต์สตีเฟนที่หายไป ขณะที่อยู่ที่นอร์ธวูดปีซาโรรู้จักกับพอล ดูรันด์ รูล ผู้ซื้อขายภาพผู้ซึ้อภาพเขียนของปีซาโรที่เขียนที่ลอนดอน พอล ดูรันด์ รูลกลายมาเป็นผู้ซื้อขายภาพคนสำคัญของกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์แบบฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. 1890 ปีซาโรกลับมาอังกฤษและเขียนภาพอีก 10 ภาพของใจกลางเมืองลอนดอน และอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1892 เขียนภาพสวนคิว และในปี ค.ศ. 1897 เขียนภาพเบดฟอร์ดพาร์ค, ชิสวิค
งานเขียน
กามีย์ ปีซาโรเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะอิมเพรสชันนิสม์”[5] ปีซาโรเขียนภาพทั้งตามชนบทและชีวิตในต้วเมืองของฝรั่งเศส โดยเฉพาะภูมิทัศน์รอบ ๆ ปงตวซ และที่ต่าง ๆ จากมงมาทร์ งานของปีซาโรแสดงถึงความเข้าใจในชีวิตคนงานและชาวนาและบางทีก็จะเห็นแววทางความคิดทึ่ออกไปทางอนาธิปไตย ปีซาโรเป็นที่นับถือของปอล เซซาน และปอล โกแก็ง และเป็นตัวอย่างของศิลปินรุ่นเยาว์รวมทั้งลูซี เบคอน (Lucy Bacon) จิตรกรตระกูลอิมเพรสชันนิสม์แบบแคลิฟอร์เนีย
[1]
อิทธิพลของปีซาโรที่มีต่อศิลปะอิมเพรสชันนิสม์มีมากกว่าที่เราคิด เพราะนอกจากว่าจะมีอิทธิพลทางทฤษฎีแล้ว ปีซาโรยังสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีกับศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ที่ค่อนข้างมีปัญหาทางบุคลิกลักษณะ เช่น แอดการ์ เดอกา, ปอล เซซาน และปอล โกแก็ง ในขณะที่มอแนเป็นผู้ปฏิบัติการวาดแบบอิมเพรสชันนิสม์อย่างจริงจังและมีอิทธิพลต่อปรัชญาศิลปะนี้ ปีซาโรจะเป็นผู้ทดลองและพัฒนาวิธีการวาดและเขียนภาพตามทฤษฎีอิมเพรสชันนิสม์ ปีซาโรมีโอกาสเข้าร่วมแสดงผลงานในนิทัศการศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ด้วยกันทั้งหมด 8 ครั้ง นอกจากนั้นปีซาโรยังทดลองวิธีวาดแบบอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ (Neo-impressionism) ระหว่างปี ค.ศ. 1885 ถึงปี ค.ศ. 1890 แต่ปีซาโรไม่พอใจในวิธีใหม่นี้และขนานนามว่า “โรแมนติกอิมเพรสชันนิสม์” ต่อมาปีซาโรก็ศึกษา “ปรัชญาพอยทิลลิสม์” (Pointillism) ซึ่งปีซาโรเรียกว่า “อิมเพรสชันนิสม์วิทยาศาสตร์” หลังจากการทดลองนี้แล้วปีซาโรก็หันกลับไปใช้ “อิมเพรสชันนิสม์” แบบที่เคยวาดมาในช่วงสิบปีสุดท้ายของชีวิต
ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1893 แกลเลอรีดูรันด์ รูลจัดงานแสดงศิลปะครั้งใหญ่ของภาพ 46 ภาพของปีซาโรและอีก 55 ภาพโดย อันโตนิโอ เดอลา แกนดารา (Antonio de La Gandara) นักวิจารณ์ชื่นชมผลงานของแกนดารามากกว่าปีซาโร
ปีซาโรเสียชีวิตที่เอรานยี เซอร์ เอ็พราววันที่ 12 หรือ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903 และร่างถูกฝังไว้ที่ปารีส ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ปีซาโรขายภาพได้บ้างแต่เมื่อปี ค.ศ. 2005 ภาพเขียนของปีซาโรขายได้ในราคา 2 ถึง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
อ้างอิง
- ↑ Wold Eiermann, "Camille Pissarro 1830 – 1903," in Christoph Becker, Camille Picasso (Hatje Cantz: Ostfildern-Ruit, 1999), 1.
- ↑ การแสดงภาพของปีซาโร (PowerPoint พร้อมเสียง)
- ↑ Pissarro, Joachim, Cézanne & Pissarro 1865-1885, page 233. The Museum of Modern Art, New York, 2005.
- ↑ artchive.com entry for Pissarro Lordship Lane
- ↑ The Radical Eye of Impressionism's Patriarch, New York Times.
- ↑ Waltzer, Stewart. "Artnet Auction Report".
ดูเพิ่ม
สมุดภาพ
-
“Kastanienbäume in Louveciennes” ราว ค.ศ. 1870, พิพิธภัณฑ์ออร์แซ,
ปารีส,
ประเทศฝรั่งเศส
-
“ถนนที่ลูฟว์เซียน” ราว ค.ศ. 1872, พิพิธภัณฑ์ออร์แซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
-
“รูอ็อง” ราว ค.ศ. 1898 รูปสะสมส่วนบุคคล
-
“
ประเทศ” ($$$) ราว ค.ศ. 1873
รัฐคอนเนตทิคัต, สหรัฐอเมริกา
-
“Paysanne Poussant une Brouette (Maison Rondest, Pontoise)” ราว ค.ศ. 1874,
สต็อกโฮล์ม,
ประเทศสวีเดน
-
“มัวซ็อง” (Moisson) ราว ค.ศ. 1876, พิพิธภัณฑ์ออร์แซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
-
“Postkutsche nach Ennery” ราว ค.ศ. 1877, พิพิธภัณฑ์ออร์แซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
-
“Bauernmädchen mit einem Stock” ราว ค.ศ. 1881
-
“จัตุรัสอาฟวร์, ปารีส” (Place du Havre, Paris) ราว ค.ศ. 1893, สถาบันศิลปะชิคาโก, สหรัฐอเมริกา
-
“เก็บเกี่ยว” ราว ค.ศ. 1901, พิพิธภัณฑ์ศิลปะออตตาวา,
ประเทศแคนาดา
|
---|
ผู้ก่อตั้ง | | |
---|
ตัวแทนการซื้อขาย | |
---|
ศิลปินอเมริกัน | |
---|
ศิลปินอื่น ๆ | |
---|
ดูเพิ่ม | |
---|