กอแทมซิตี (อังกฤษ : Gotham City ) เป็นเมืองสมมติที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูนอเมริกันของดีซีคอมิกส์ เป็นที่รู้จักในฐานะเป็นเมืองที่อยู่ของแบทแมน โดยปรากฏครั้งแรกในแบทแมน ฉบับที่ 4 (ธันวาคม 1940)
กอแทมซิตีเคยถูกเขียนถึงว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่นิวเจอร์ซีย์ ในสหรัฐอเมริกา [ 1] [ 2] [ 3] [ 4] [ 5] [ 6] โดยลักษณะและบรรยากาศของเมืองนั้นได้รับอิทธิพลจากนครนิวยอร์ก เป็นหลัก[ 7]
ในขณะที่สถานที่ที่เป็นแรงบันดาลใจหรือใช้ในการถ่ายทำสำหรับกอแทมซิตีในภาพยนตร์และละครชุดทางโทรทัศน์ฉบับคนแสดงของแบทแมน นั้นประกอบไปด้วยชิคาโก,[ 8] [ 9] พิตต์สเบิร์ก , ลอสแอนเจลิส , นิวยอร์ก, นวร์ก , ลอนดอน และกลาสโกว์ [ 10] [ 11] [ 12] [ 13] [ 14] [ 15]
ที่มาของชื่อ
บิลล์ ฟิงเกอร์ ซึ่งเป็นนักเขียนกล่าวว่าเขาเคยตั้งชื่อให้กอแทมซิตีว่า ซิวิกซิตี, แคพิทัลซิตี และโคสต์ซิตี แต่เมื่อเขาเจอชื่อ 'กอแทมจิเวเลอรส์' ในสมุดโทรศัพท์ของนิวยอร์ก จึงได้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่ากอแทมซิตี[ 16] [ 17]
"กอแทม" เคยเป็นชื่อเล่นของนครนิวยอร์กซึ่งเริ่มได้รับความนิยมครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 โดยวอชิงตัน เออร์วิง เป็นผู้ตั้งชื่อครั้งแรกในวารสารซัลมากันดิ ฉบับวันที่ 11 พฤศจิกายน 1807[ 18] ซึ่งเป็นนิตยสารที่เขียนล้อเลียนวัฒนธรรมและการเมืองของนิวยอร์ก โดยเออร์วิงนำชื่อมาจากหมู่บ้านกอแทมในนอตทิงแฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ[ 19] [ 20]
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งในนิวเจอร์ซีย์
ลักษณะเมืองของกอแทมซิตีถูกแต่งให้มีความแตกต่างกันไปตลอดหลายทศวรรษ เช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ในจักรวาลดีซี แต่ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองนั้นตามธรรมเนียมถูกระบุว่าตั้งอยู่ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ในอะเมซิงเวิลด์ออฟดีซีคอมิกส์ ฉบับที่ 14 มาร์ก กรูนวอลด์ ซึ่งเป็นผู้เขียนได้กล่าวถึงประวัติของจัสติสลีก และระบุว่ากอแทมซิตีตั้งอยู่ในนิวเจอร์ซีย์[ 1]
ในคอมิกสตริปเรื่องเดอะเวิลด์สเกรเทสต์ซูเปอร์ฮีโรส์ (13 สิงหาคม 1978) มีแผนที่ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากอแทมซิตีตั้งอยู่ในนิวเจอร์ซีย์และเมโทรโพลิสตั้งอยู่ในเดลาแวร์ [ 21] และในเวิลด์สไฟเนสต์คอมิกส์ ฉบับที่ 259 (พฤศจิกายน 1979) ได้ยืนยันเช่นกันว่ากอแทมซิตีอยู่ในนิวเจอร์ซีย์[ 22] นอกจากนี้ในเดอะนิวแอดเวนเจอร์สออฟซูเปอร์บอย ฉบับที่ 22 (ตุลาคม 1981) และเดอะแอตลาสออฟเดอะดีซียูนิเวิร์ส ปี 1990 ทั้งสองเล่มได้แสดงแผนที่ซึ่งกอแทมซิตีอยู่ในนิวเจอร์ซีย์และเมโทรโพลิสอยู่ในเดลาแวร์[ 6] [ 23]
ในดีเทกทีฟคอมิกส์ ฉบับที่ 503 (มิถุนายน 1983) มีข้อมูลหลายอย่างที่สื่อให้เห็นว่ากอแทมซิตีอยู่ในนิวเจอร์ซีย์ โดยมีการอธิบายว่าชายฝั่งเจอร์ซีย์ห่างจากกอแทมไปทางตอนเหนือ 20 ไมล์ และในฉบับเดียวกันโรบินและแบทเกิร์ลได้ขับรถจาก "ลานบินลับนิวเจอร์ซีย์" ไปยังกอแทมซิตีและขับต่อไปยัง "ทางหลวงฮัดสันเคาน์ตี" ซึ่งอ้างอิงถึงฮัดสันเคาน์ตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ในชีวิตจริง
นอกจากนี้ในแบทแมน: ชาโดว์ออฟเดอะแบท ฉบับรายปี ฉบับที่ 1 ได้ระบุว่ากอแทมซิตีอยู่ในนิวเจอร์ซีย์เช่นกัน โดยใบขับขี่ของ ซาล อี จอร์แดน ในคอมิกส์ฉบับนี้ระบุว่าที่อยู่ของเขาคือ "72 ถนนแฟกซ์คอล กอแทมซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ 12345"[ 5] แม้ว่าแท้จริงแล้วรหัสไปรษณีย์ดังกล่าวจะเป็นของเมืองสเกอเนกทาดีในนิวยอร์ก
ภาพยนตร์ทีมพลีชีพ มหาวายร้าย ที่ฉายในปี 2016 ได้เปิดเผยว่าในจักรวาลขยายดีซี กอแทมซิตีตั้งอยู่ในรัฐนิวเจอร์ซีย์เช่นกัน[ 24] [ 25]
ความสัมพันธ์กับเมโทรโพลิส
กอแทมซิตีถือเป็นบ้านของแบทแมนเช่นเดียวกับเมโทรโพลิสซึ่งเป็นบ้านของซูเปอร์แมน และฮีโรทั้งสองคนก็ทำงานร่วมกันในสองเมือง ในคอมิกส์นั้นระยะทางที่แน่นอนของเมืองทั้งสองถูกเล่าให้มีระยะที่แตกต่างกันในแต่ละฉบับ แต่ก็เป็นระยะที่สามารถขับรถถึงกันได้ บางครั้งทั้งสองเมืองนี้ถูกเล่าว่าเป็นเมืองคู่แฝดกันซึ่งอยู่คนละฝั่งของอ่าวเดลาแวร์ โดยเมโทรโพลิสอยู่ในเดลาแวร์และกอแทมซิตีอยู่ในนิวเจอร์ซีย์[ 2] [ 4]
นิวยอร์กได้ชื่อเล่นว่าเมโทรโพลิส เพื่อบรรยายถึงเมืองในเวลากลางวันตรงข้ามกับกอแทม ซึ่งใช้บรรยายถึงนิวยอร์กในช่วงเวลากลางคืน[ 26] ระหว่างยุคสัมฤทธิ์ของคอมิกส์ สะพานเมโทร-แนโรส์ถูกแต่งให้เป็นเส้นทางหลักของเมืองคู่แฝดอย่างเมโทรโพลิสและกอแทมซิตี[ 27] [ 28] ซึ่งในเรื่องได้ระบุว่าสะพานนี้เป็นสะพานแขวน ที่ยาวที่สุดในโลก[ 29]
แผนที่ที่ปรากฏในเดอะนิวแอดเวนเจอร์สออฟซูเปอร์บอย ฉบับที่ 22 (ตุลาคม 1981) แสดงให้เห็นว่าสมอลล์วิลล์อยู่ในระยะที่สามารถขับรถจากเมโทรโพลิสและกอแทมซิตีได้ แต่หลังจากนั้นสมอลล์วิลล์ได้ถูกย้ายตำแหน่งไปยังแคนซัส อันเป็นผลจากเหตุการณ์ไครซิสออนอินฟินิตเอิร์ท [ 30] นอกจากนี้แผนที่ของสหรัฐที่ปรากฏในเดอะซีเคร็ตไฟลส์แอนด์ออริจินส์ไกด์ทูเดอะดีซียูนิเวิร์ส ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2000) ยังแสดงให้เห็นว่าเมโทรโพลิส, กอแทมซิตีและบลัดเฮเวนอยู่ในพื้นที่ไทรสเตต[ 31]
ในจักรวาลขยายดีซี ภาพยนตร์แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ที่ฉายในปี 2016 แสดงให้เห็นว่ากอแทมซิตีตั้งอยู่คนละฝั่งอ่าวกับเมโทรโพลิส[ 32]
ประวัติ
กัปตันยุน โลเกร์ควิสต์ ซึ่งเป็นทหารรับจ้างชาวนอร์เวย์ได้ก่อตั้งกอแทมซิตีขึ้นในปี 1635 และหลังจากนั้นเมืองได้ถูกชาวบริติชยึดครองไป ซึ่งเรื่องราวนี้อ้างอิงจากประวัติศาสตร์จริงในการก่อตั้งนิวยอร์กโดยชาวดัตช์ (ในชื่อนิวอัมสเตอร์ดัม ) ก่อนถูกยึดครองโดยชาวบริติช[ 33] และระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกา กอแทมซิตีเป็นที่ตั้งของการต่อสู้ครั้งใหญ่ (อ้างอิงจากเหตุการณ์จริงคือยุทธการที่เกาะลอง ) โดยข้อมูลเหล่านี้ปรากฏในสวอมป์ทิง ฉบับที่ 85 ของริก ไวตช์
หนังสือการ์ตูนชุดแบทแมน: เกตส์ออฟกอแทม ในปี 2011 ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกอแทมซิตีโดยอลัน เวย์น (บรรพบุรุษของบรูซ เวย์น), ทีโอดอร์ คอบเบิลพอต (บรรพบุรุษของออสวอลด์ คอบเบิลพอต) และเอ็ดเวิร์ด เอลเลียต (บรรพบุรุษของโทมัส เอลเลียต) ถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งกอแทม พวกเขาได้สร้างสะพานสามแห่งซึ่งเรียกว่า"เกตส์ออฟกอแทม" โดยแต่ละแห่งมีนามสกุลของแต่ละคน ช่วงหนึ่งเอ็ดเวิร์ด เอลเลียตเริ่มอิจฉาความนิยมและความมั่งคั่งของครอบครัวเวย์นมากขึ้นเรื่อย ๆ ความอิจฉานี้ได้ส่งต่อไปถึงโทมัส เอลเลียต (หรือฉายาฮัช) ซึ่งเป็นลูกของเหลนของเขา[ 34]
ต้นกำเนิดที่ลึกลับของกอแทมได้ถูกเจาะลึกมากขึ้นในเนื้อเรื่อง "ดาร์กไนต์, ดาร์กซิตี" ซึ่งแต่งโดยปีเตอร์ มิลลิแกนในปี 1990[ 35] ได้เปิดเผยว่าบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ บางคนมีส่วนร่วมกับการอัญเชิญแบท-ดีมอนซึ่งถูกกักขังอยู่ใต้เมืองกอแทมเก่า อำนาจแห่งความมืดของมันได้แพร่กระจายไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของกอแทมซิตี แนวทางเนื้อเรื่องที่คล้ายกันนี้ได้ถูกเล่าในชาโดว์แพกท์ ฉบับที่ 5 ซึ่งแต่งโดยบิลล์ วิลลิงแฮมซึ่งได้เล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งลึกลับในกอแทม โดยเปิดเผยถึงสิ่งมีชีวิตที่หลับใหลเป็นเวลา 40,000 ปีข้างใต้แผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งของกอแทมซิตี สเตรกาซึ่งเป็นคนรับใช้ของสิ่งมีชีวิตนั้นได้กล่าวว่าตัวตนที่มืดมนและถูกสาปของเมืองนั้นมีผลมาจากสิ่งมีชีวิตที่ใช้ชื่อ "ดอกเตอร์กอแทม"
ในกอแทมอันเดอร์กราวด์ ฉบับที่ 2 ซึ่งแต่งโดยแฟรงก์ เทียรีนั้น โทเบียส เวลได้อ้างว่าในศตวรรษที่ 19 เมืองถูกควบคุมโดยแก๊งที่เป็นคู่แข่งกันห้ากลุ่ม จนกระทั่ง "บุคคลภายใต้หน้ากาก" คนแรกปรากฏตัวและได้ตั้งแก๊งของตัวเองขึ้นมาแต่ไม่พบข้อมูลแน่ชัดว่าคนเหล่านั้นเป็นศาลเตี้ยหรืออาชญากรที่ใส่ชุดแต่งกาย
นอกจากนี้ยังมีเนื้อเรื่องต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของกอแทมซึ่งส่งผลกระทบไปถึงผู้คนและสภาพบ้านเมืองอีกด้วย บางครั้งผลกระทบของเหตุการณ์ครั้งใหญ่อาจกลายเป็นเนื้อเรื่องยาวที่ต่อเนื่องกัน เช่นเหตุการณ์เมื่อราส์ อัล กูล ได้ปล่อยไวรัสที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอที่ชื่อว่า "เคลนช์" ระหว่างเนื้อเรื่อง "คอนเทเจียน" เมื่อถึงบทสรุปของเนื้อเรื่องขณะที่เมืองกำลังฟื้นตัวก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.6 ริกเตอร์ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลกลางตัดกอแทมออกจากการเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในเนื้อเรื่อง "โนแมนส์แลนด์" ประชาชนที่เหลืออยู่ในเมืองถูกบังคับให้เข้าสงครามแก๊งเพื่อเอาตัวรอดโดยอาจอยู่ในฐานะผู้เข้าร่วมหรือจ่ายเงินเพื่อรับความคุ้มครองจากกลุ่มต่าง ๆ ท้ายที่สุดกอแทมได้ถูกบูรณะและกลับเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาโดยเป็นผลจากนโยบายของเล็กซ์ ลูเธอร์ ที่ทำขึ้นเพื่อหาเสียงให้เขาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา[ 36]
วัฒนธรรม
เดนนิส โอนีลซึ่งเป็นนักเขียนและบรรณาธิการของแบทแมน กล่าวว่ากอแทมซิตีของแบทแมนเปรียบเสมือน "แมนฮัตตันด้านล่างถนนที่ 14 เวลาเที่ยงคืนสิบเอ็ดนาที ในคืนที่หนาวที่สุดในเดือนพฤศจิกายน"[ 37] ขณะที่นีล อดัมส์นักวาดแบทแมน เชื่อมาอย่างยาวนานว่าชิคาโกเป็นต้นแบบของกอแทมโดยกล่าวว่าชิคาโกมีตรอกซอกซอย (ซึ่งแทบไม่มีอยู่ในนิวยอร์ก) และซอยแคบ ๆ นั้นเป็นที่ที่แบทแมนใช้สู้กับคนร้าย[ 38] ในขณะที่คำกล่าวที่ว่าเมโทรโพลิสคือนิวยอร์กในตอนกลางวันนั้นมีที่มาจากผู้สร้างคอมิกส์อย่างแฟรงก์ มิลเลอร์และจอห์น เบิร์น[ 7]
ในการออกแบบเรื่องแบทแมน: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ ผู้สร้างอย่างบรูซ ทิมและเอริก เรดอมสกีได้ยึดถือแนวคิดความเหนือกาลเวลาจากภาพยนตร์ของทิม เบอร์ตันโดยการผสมผสานลักษณะของยุคสมัยเช่น ข้อความคั่นเรื่องรูปแบบขาวดำ, เรือเหาะตำรวจ (แม้สิ่งนี้จะไม่ปรากฏในภาพยนตร์แต่ทิมระบุว่าสิ่งนี้เข้ากับรูปแบบของเรื่อง) และโทนสีวินเทจแบบฟิล์มนัวร์ [ 39] หลังจากนั้นเรือเหาะตำรวจจึงได้เข้าไปอยู่ในคอมิกส์แบทแมนและกลายเป็นองค์ประกอบของกอแทมซิตี[ 40]
เกี่ยวกับพัฒนาการของกอแทมตลอดหลายปี พอล เลวิตซ์ซึ่งเป็นบรรณาธิการของแบทแมน และอดีตประธานดีซีคอมิกส์ ได้กล่าวว่า "นักเขียนแต่ละคนได้เติมแต่งความคิดลงไป เป็นความสนุกของคอมิกส์กับการสร้างเมืองใหม่ในแต่ละครั้ง"[ 41]
สถาปัตยกรรม
อาคารสไตล์อลังการศิลป์ และนวศิลป์ เช่น สถานีกลางเฮลซิงกิ เป็นแรงบันดาลใจให้กับรูปลักษณ์ของกอแทมในภาพยนตร์แบทแมน ปี 1989[ 42]
ในแบทแมน: กอทิก อาสนวิหารกอแทมมีบทบาทสำคัญในเรื่อง เนื่องจากสร้างขึ้นโดยมิสเตอร์วิสเปอร์ซึ่งเป็นศัตรูในเรื่อง
จากเนื้อเรื่องในปี 1992 ผู้คลั่งไคล้สถาปัตยกรรมของพิงก์นีย์ได้ระเบิดสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในกอแทมเพื่อเปิดเผยให้เห็นโครงสร้างของพิงก์นีย์ที่ถูกซ่อนไว้ จุดประสงค์เบื้องหลังของการแต่งเนื้อเรื่องนี้เพื่อเปลี่ยนดีไซน์ของเมืองให้เข้ากับภาพยนตร์แบทแมน ในปี 1989 ซึ่งออกแบบโดยแอนทอน เฟิสต์[ 43] [ 44] [ 45]
ในแบทแมน บีกินส์ มีการใช้ CGI เพื่อเสริมให้กับชิคาโกซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำ ขณะที่แบทแมน อัศวินรัตติกาล แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานและสถาปัตยกรรมของชิคาโกโดยตรงเช่น ท่าน้ำเนวี อย่างไรก็ตามในแบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด ได้เปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำจากชิคาโกไปเป็นพิตต์สเบิร์ก, ลอสแอนเจลิส, นิวยอร์ก, นวร์ก, นิวเจอร์ซีย์, ลอนดอนและกลาสโกว์[ 10] [ 11] [ 12] [ 13] [ 14] [ 15]
บุคคลสำคัญ
ช่วงตลอดหลายปีในการดำเนินเรื่องของดีซีคอมิกส์ แบทแมนขอความช่วยเหลือจากหลายตัวละคร โดยแบทแมนมีคู่หูคือโรบิน ซึ่งมีตัวละครที่ใช้ฉายานี้หลายคนได้แก่ ดิ๊ก เกรย์สัน, เจสัน ทอดด์, ทิม เดรก และเดเมียน เวย์น นอกจากนี้ยังมีตัวละครอื่นเช่น แคตวูแมน , แบทเกิร์ล, ฮันเทรส
ตัวละครอื่นของดีซีที่ถูกเล่าว่าอาศัยอยู่ในกอแทมเช่น ทหารรับจ้างอย่างทอมมี โมนาแฮน[ 46] หรือเจสัน บลัดนักมารวิทยาผู้มีชื่อเสียง และในการดำเนินเรื่องในยุคสมัยใหม่ของจักรวาลดีซี แบทแมนไม่ใช่ฮีโรคนแรกในกอแทม โดยแอลัน สก็อตต์ซึ่งเป็นกรีนแลนเทิร์น ในยุคทองได้อาศัยอยู่ที่กอแทมในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และหลังจากนั้นมีการเล่าว่าเขาได้ดำเนินกิจการ กอแทม บรอดแคสติงคอร์ปอเรชัน[ 47] นอกจากนี้สเปกเตอร์คนดั้งเดิมจากยุคทองและเพอร์ซิวัล พ็อปป์ คู่หูของเขาก็อาศัยอยู่ในกอแทมซิตี[ 48] เช่นเดียวกับแบล็กคะแนรี,[ 49] สตาร์แมน,[ 50] และเกรย์โกสต์[ 51]
ในออลสตาร์เวสเทิร์น ฉบับรีบูท ปี 2011 ซึ่งเรื่องราวเกิดขึ้นในกอแทมสไตล์ตะวันตกยุคเก่า โจนาห์ เฮกซ์และอมาเดอุส อาร์แคมเป็นหนึ่งในชาวเมืองกอแทมในฉบับนี้[ 52]
นอกจากประชากรที่เป็นซูเปอร์ฮีโร แล้ว ชาวเมืองคนอื่นยังมีบทเด่นในเนื้อเรื่องรองของดีเทกทีฟคอมิกส์ ซึ่งมีชื่อว่าเทลส์ออฟกอแทมซิตี [ 53] และในลิมิเต็ดซีรีส์จำนวนสองเล่มที่ชื่อว่ากอแทมไนตส์ นอกจากนี้กรมตำรวจกอแทมซิตีนั้นมีบทบาทสำคัญในกอแทมเซ็นทรัล ในมินิซีรีส์อย่างกอร์ดอนส์ลอว์ ,บูลล็อกส์ลอว์ และแบทแมน: จีซีพีดี
ในสื่ออื่น
สื่อโทรทัศน์
จากละครชุดแบทแมน ฉบับคนแสดงในปี 1960 นั้นไม่ได้ระบุถึงตำแหน่งที่ชัดเจนของกอแทม ถึงแม้จะมีหลายอย่างที่สือถึงนครนิวยอร์กก็ตาม เช่น แผนที่เมืองและตำแหน่งของเมืองซึ่งอยู่ข้ามฝั่งแม่น้ำเวสต์จากเมืองเกิร์นซีย์ในนิวเกิร์นซีย์ โดยตัวละครในเรื่องอย่างนายกเทศมนตรีลินซีดและผู้ว่าการสโตนเฟลโลว์นั้นสื่อถึงนายกเทศมนตรีจอห์น ลินด์เซย์ และผู้ว่าการเนลสัน รอกกีเฟลเลอร์ ในชีวิตจริงโดยตรง นอกจากนี้ในภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างแบทแมน แสดงให้เห็นว่าแบทแมนบินผ่านชานเมืองลอสแอนเจลิส, ฮอลลีวูดฮิลส์ และศาลาว่าการเมืองลอสแอนเจลิส
ในละครชุดคนแสดงเรื่องกอแทม ทีมสร้างสรรค์มีข้อกำหนดที่สำคัญคือต้องถ่ายทำที่นิวยอร์ก[ 54] ตามข้อมูลจากแดนนี แคนนอนซึ่งเป็นผู้อำนวยการผลิตนั้นบรรยากาศในเรื่องได้รับแรงบันดาลใจจากรูปลักษณ์ของนิวยอร์กจากภาพยนตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ของซิดนีย์ ลูเมตและวิลเลียม ฟรีดกิน นอกจากนี้ในเรื่องยังแสดงให้เห็นถึงหมายเลขโทรศัพท์ที่มีรหัสพื้นที่ 212[ 55]
ในแบทวูแมน ละครชุดในปี 2019 ซึ่งเนื้อเรื่องเกิดขึ้นในกอแทมนั้นได้ถ่ายทำที่ชิคาโก[ 56]
จักรวาลดีซีแอะนิเมเต็ด
ในแบทแมน: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ , เดอะนิวแบทแมนแอดเวนเจอร์ส และแบทแมนบียอนด์ มีการปรากฏอยู่ของกอแทมซิตีอย่างเด่นชัด และมีการปรากฏของกอแทมอีกเล็กน้อยในซูเปอร์แมน: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ , จัสติสลีก , จัสติสลีกอันลิมิเต็ด และสแตติกช็อก ขณะที่พอล ดีนีซึ่งเป็นผู้เขียนบทและผู้กำกับเปรียบลักษณะกอแทมซิตีไว้ว่าเหมือนงานนิทรรศการโลก ปี 1939 ที่ผ่านไป 60 ปี[ 54] จากแบทแมน: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ ในตอน "โจ๊กเกอร์สเฟเวอร์" ปรากฏใบขับขี่ที่ระบุที่อยู่ว่า "กอแทม เอสเตตส์, นิวยอร์ก " และในตอน "อวาตาร์" เมื่อบรูซ เวย์นออกจากอังกฤษมีแผนที่ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากอแทมอยู่ติดกับเกาะลองและแม่น้ำฮัดสัน ในตอน "ฮาร์ลีควินเนด" กล่าวว่ากอแทมซิตีมีประชากรประมาณ 10 ล้านคน
แอร์โรว์เวิร์ส
กอแทมซิตีปรากฏครั้งแรกในแอร์โรว์เวิร์สในช่วงเนื้อเรื่อง "เอลส์เวิลด์" ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องครอสโอเวอร์ และเป็นการแนะนำตัวละครแบทวูแมน อีกด้วย แม้จะมีการกล่าวถึงมาแล้วหลายครั้งก่อนหน้านี้ก็ตาม[ 57]
ในเดอะแฟลช วีรบุรุษเหนือแสง ตอน "มาราทอน" แผนที่แสดงให้เห็นว่ากอแทมซิตีตั้งอยู่ในชิคาโก รัฐอิลลินอย
ภาพยนตร์
แบทแมนปี 1989
ทิม เบอร์ตัน ซึ่งเป็นผู้กำกับแบทแมน (1989) ต้องการสร้างกอแทมให้เป็นอีกรูปแบบอันเหนือกาลเวลาของนิวยอร์กและเปรียบเทียบกับขุมนรกที่แผ่ขยายไปตามทางเท้าและเติบโตขึ้น[ 54] รูปลักษณ์ของกอแทมถูกดูแลโดยผู้ออกแบบงานสร้างอย่างแอนทอน เฟิร์ส ซึ่งได้รางวัลออสการ์จากการดูแลงานศิลป์ในเรื่องนี้[ 58] เฟิร์สกล่าวว่าในเรื่องนี้มีพื้นฐานจากแง่ที่เลวร้ายในหลาย ๆ ด้านของนิวยอร์กและได้รับแรงบันดาลใจจากภาพถ่ายในคริสต์ทศวรรษ 1940 ของช่างภาพอันเดรียส เฟนินเจอร์ นอกจากนี้ไนเจล เฟ็ลปส์ ช่างเขียนแบบของเฟิร์สได้เขียนภาพวาดถ่านเพื่อใช้ในการออกแบบอาคารทั้งภายนอกและภายในของเรื่องนี้[ 59]
หลังจากการเสียชีวิตของเฟิร์ส เบอร์ตันได้เลือกให้โบ เวลช์มาดูแลการออกแบบงานสร้างให้กับแบทแมน รีเทิร์นส เบอร์ตันต้องการให้เวลช์เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ให้กับกอแทมโดยกล่าวว่าแบทแมนภาคแรกไม่รู้สึกยิ่งใหญ่สำหรับเขาและดูไม่มีพลังเหมือนกับเมืองเก่าของอเมริกา[ 60] เวลช์ต้องการขยายแนวคิดพื้นฐานมาใช้ในภาคต่อแต่จะเปลี่ยนจากแนวคิดทีเป็นอิทธิพลจากฝั่งยุโรปมาใช้องค์ประกอบของอลังการศิลป์ /งานนิทรรศการโลก จากอเมริกามากขึ้น[ 58] [ 61] เมื่อพูดถึงแรงบันดาลใจในการตีความเกี่ยวกับกอแทม เขากล่าวว่าสถาปัตยกรรมฟาสซิสต์ที่ใช้ในงานนิทรรศการโลกนั้นทำให้เขานึกถึงระบบราชการและเผด็จการที่กดขี่ เขาจึงได้ดูภาพและงานศิลปะเกี่ยวกับไรช์ที่สาม จำนวนมากจากงานนั้น[ 60] เพื่อให้เมืองมืดยิ่งขึ้น เขาจึงออกแบบให้ตึกสูงถูกสร้างอย่างหนาแน่นอึดอัดจนบดบังแสงที่ส่องลงมา[ 60] [ 62]
เมื่อโจเอล ชูมาเกอร์ ได้กำกับภาพยนตร์ชุดแบทแมนต่อจากทิม เบอร์ตัน เขาได้บาร์บารา ลิงมาทำงานในส่วนออกแบบการผลิตให้กับภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องของเขาคือแบทแมน ฟอร์เอฟเวอร์ [ 63] และแบทแมน & โรบิน [ 64] [ 65] [ 66] กอแทมซิตีในมุมมองของบาร์บารานั้นคือการปลุกสถาปัตยกรรมเอกซเพรสชันนิซึม และสถาปัตยกรรมเค้าโครง ขึ้นมา โดยดีไซน์แบบอนาคตนิยม นั้นนักวิจารณ์จากวอชิงตันโพสต์ ได้กล่าวว่าทำให้ระลึกถึงภาพยนตร์เบลดรันเนอร์ [ 67] และบาร์บาราได้บรรยายไว้ในหนังสือของเธอที่ชื่อบิกเกอร์, โบลเดอร์, ไบรเตอร์: เดอะโปรดักชันดีไซน์ออฟแบทแมน & โรบิน ว่าการออกแบบเมืองเป็นการผสมกันระหว่างแมนแฮตตันในคริสต์ทศวรรษ 1930 กับนีโอโตเกียวจากอากิระ บาร์บาราอ้างถึงโตเกียวที่เต็มไปด้วยแสงนีออนและยุคเครื่องจักร ว่ามีอิทธิพลสำคัญต่อเธอ[ 68] ในแบทแมน ฟอร์เอฟเวอร์ แบทแมนได้ไล่ล่าทูเฟซ จนไปหยุดที่เลดีกอแทมซึ่งเป็นรูปปั้นที่อ้างอิงมาจากเทพีเสรีภาพ และในแบทแมน & โรบิน ขณะที่มิสเตอร์ฟรีซพยายามจะแช่แข็งเมืองกอแทม หน้าจอบนเลเซอร์ยักษ์ของเขาแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งบริเวณชายฝั่งนิวอิงแลนด์ โดยอาจอยู่ทางเหนือไปถึงรัฐเมน
ไตรภาคอัศวินรัตติกาล
คริสโตเฟอร์ โนแลน ซึ่งเป็นผู้กำกับระบุว่าชิคาโกเป็นแรงบันดาลใจให้กับรูปลักษณ์ของกอแทม โดยทั้งแบทแมน บีกินส์ และแบทแมน อัศวินรัตติกาล ได้ถ่ายทำที่นั่นเป็นหลัก[ 38] อย่างไรก็ตามกอแทมของโนแลนถูกกำหนดให้อยู่ในนิวเจอร์ซีย์เพื่อให้เกียรติตามตำแหน่งที่ตั้งในคอมิกส์[ 69]
ในแบทแมน บีกินส์ โนแลนต้องการให้กอแทมเป็นเมืองใหญ่ที่ทันสมัยและสะท้อนรูปแบบสถาปัตยกรรมและยุคสมัยที่หลากหลาย รวมทั้งชนชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน การสร้างเมืองกอแทมขึ้นมานั้นจะใช้ภาพลักษณ์ของนครนิวยอร์กมารวมกับองค์ประกอบจากชิคาโก, ทางด่วนยกระดับและโมโนเรลของโตเกียว [ 9] และเมืองกำแพงเกาลูน ในฮ่องกง ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบสลัมในภาพยนตร์ที่ชื่อว่าเดอะแนร์โรว์ส[ 8] [ 9]
ในแบทแมน อัศวินรัตติกาล อิทธิพลจากชิคาโกและนิวยอร์กปรากฏให้เห็นชัดยิ่งขึ้น ขณะถ่ายทำที่ชิคาโกผู้จัดการสถานที่อย่างเจมส์ แม็กอัลลิสเตอร์ระบุว่า "มันจะดูเหมือนกับที่คุณเคยเห็นในคอมิกส์" "จะมีหลายโบโรที่แตกต่างกันและมีแม่น้ำเชื่อมถึงกัน ผมคิดว่ามันยากที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นเพราะกอแทมมีพื้นฐานมาจากนิวยอร์ก"[ 38]
จักรวาลขยายดีซี
ในจักรวาลขยายดีซี กอแทมซิตีตั้งอยู่ในกอแทมเคาน์ตี, นิวเจอร์ซีย์ โดยเอกสารในเรื่องแบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม กล่าวว่าเมืองตั้งอยู่ในกอแทมเคาน์ตีและแฟ้มข้อมูลของอะแมนดา วอลเลอร์เกี่ยวกับเดดช็อตและฮาร์ลีย์ ควินน์จากทีมพลีชีพ มหาวายร้าย ได้เปิดเผยว่ากอแทมซิตีอยู่ในรัฐนิวเจอร์ซีย์[ 24] [ 25] แซ็ก สไนเดอร์ ยืนยันว่าเมโทรโพลิสและกอแทมซิตีมีความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์[ 70] โดยสำนักข่าวเดอะบอสตันโกลบได้เปรียบเทียบความใกล้ชิดกันของสองเมืองนี้ว่าเหมือนกับเจอร์ซีซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์และแมนแฮตตัน รัฐนิวยอร์ก [ 71]
เพื่อที่จะสร้างกอแทมในแบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ทีมสร้างสรรค์ได้ตัดสินใจเลือกองค์ประกอบจากเมืองต่าง ๆ มารวบรวมและสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อประยุกต์สถาปัตยกรรมและโครงสร้างให้เข้ากับกอแทม โดยทีมงานได้นำภาพหลายพันภาพมาประมวลผลเพื่อสร้างส่วนต่าง ๆ ของเมือง[ 72]
ในทีมนกผู้ล่า ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นในกอแทม การถ่ายทำทั้งหมดเกิดขึ้นที่ลอสแอนเจลิส โดยเดิมทีนั้นจะถ่ายทำกันที่แอตแลนตาและซาวานนาห์ รัฐจอร์เจีย แต่เนื่องจากพวกเขาได้รับการลดหย่อนภาษีในแคลิฟอร์เนียจึงได้เปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำ[ 73]
โจ๊กเกอร์ (2562)
ท็อดด์ ฟิลลิปส์ ซึ่งเป็นผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ของเรื่องได้นึกภาพกอแทมว่าเป็นแบบยุคเฟื่องฟูก่อนคริสต์ทศวรรษ 1980 ของนิวยอร์กหรือเปรียบกับเมืองศูนย์กลางทางตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อถามถึงการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของเมืองกับมาร์ก ฟรายด์เบิร์กซึ่งเป็นผู้ออกแบบงานสร้าง เขาได้กล่าวว่ากอแทมในฉบับนี้ได้หล่อหลอมตัวละครอาร์เธอร์ เฟล็ก ทำให้รับรู้ถึงความรุนแรงในเมืองแต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้[ 74]
เดอะ แบทแมน
ภาพยนตร์เดอะ แบทแมน ของแมตต์ รีฟส์ ได้เล่าเจาะลึกถึงมุมที่ไม่เคยเห็นของอาชญากรในกอแทมซืตีผ่านการเล่าเรื่องแบบฟิล์มนัวร์และเน้นที่ประเด็นการทุจริตที่ลุกลามในหน่วยงานและกรมตำรวจของเมือง[ 75] โดยเรื่องนี้ใช้ลอนดอน , กลาสโกว์ ,[ 76] ลิเวอร์พูล [ 77] และชิคาโกเป็นสถานที่ถ่ายทำสำหรับฉากกอแทมซิตี[ 78] [ 79] ถึงแม้จะถ่ายทำในหลายสถานที่แต่แมตต์ รีฟส์นั้นได้จำลองแบบกอแทมมาจากนครนิวยอร์ก[ 80] และในภาพยนตร์ยังปรากฏตึกสูงที่คล้ายกับตึกเอ็มไพร์สเตต อยู่ในกอแทมซิตีโดยมีป้ายที่เขียนว่า "กอแทมเอ็มไพร์" นอกจากนี้ยังมีสี่แยกการค้าที่พลุกพล่านซึ่งเรียกว่า "กอแทมสแควร์" ปรากฏในหลายฉากซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไทม์สแควร์
วิดีโอเกม
กอแทมซิตีปรากฏอยู่ในหลายวิดีโอเกมรวมไปถึง แบทแมน บีกินส์ , ดีซียูนิเวิร์สออนไลน์ และมอร์ทัลคอมแบตเวอร์ซัสดีซียูนิเวิร์ส และยังปรากฏในอินจัสติส: ก็อดส์อมองอัส ซึ่งผู้เล่นสามารถต่อสู้ทั้งข้างนอกและข้างในคฤหาสน์เวย์น, ชั้นบนของตึกและข้างในตรอกได้ นอกจากนี้เกมอื่น ๆ ที่มีเมืองอยู่คือ เลโก้ไดเมนชัน และแฟรนไชส์เกมชุดอาร์แคม ของร็อกสเตดี
แบทแมน: อาร์แคม
ในแบทแมน: อาร์แคมอะไซลัม เริ่มเกมในฉากที่แบทแมนขับรถนำตัวโจ๊กเกอร์ ไปยังอาร์แคมอะไซลัม โดยโจ๊กเกอร์ได้ขู่ว่าจะวางระเบิดทั่วกอแทม และในแบทแมน: อาร์แคมซิตี สลัมในกอแทมซิตีเก่าได้ถูกแปลงเป็นเมืองอาร์แคมโดยมีกำแพงคุกล้อมรอบซึ่งในส่วนนี้จะมีสถานที่สำคัญที่ถูกเล่าตลอดทั้งเรื่องได้แก่ ไอซ์เบิร์กเลานจ์ของเพนกวิน , โรงงานเอซเคมิคัลส์, โรงงานถลุงเหล็กไซโอนิส, อาคารเก่าของกรมตำรวจกอแทมซิตีและโรงภาพยนตร์โมนาร์ชซึ่งเป็นสถานที่ที่ครอบครัวเวย์นถูกฆาตกรรม ในแบทแมน: อาร์แคมออริจินส์ จะเป็นเมืองที่อยู่ในยุคก่อนหน้ากว่าเกมอื่น ๆ ในชุดอาร์แคม นอกจากเกาะทางเหนือแล้ว ภาคนี้ยังให้ผู้เล่นได้สำรวจเกาะใหม่ทางใต้ที่เชื่อมกับเกาะเดิมด้วยสะพานไพโอเนียร์ส ขณะที่ในแบทแมน: อาร์แคมไนท์ เหตุการณ์เกิดขึ้นที่เซ็นทรัลกอแทมซิตีซึ่งใหญ่กว่ากอแทมเก่าห้าเท่า โดยในฉบับนวนิยายของแบทแมน: อาร์แคมไนท์ ได้เปิดเผยว่าตรอกไครม์ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเวย์นเวย์
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Amazing World of DC Comics #14, March 1977. DC Comics.
↑ 2.0 2.1 World's Finest Comics #259, October–November 1979. DC Comics.
↑ Detective Comics #503 June 1983. DC Comics.
↑ 4.0 4.1 Atlas of the DC Universe , 1990. DC Comics.
↑ 5.0 5.1 Batman: Shadow of the Bat Annual #1, June 1993. DC Comics.
↑ 6.0 6.1 Montgomery, Paul (May 18, 2011). "The Secret Geography of the DC Universe: A Really Big Map"
↑ 7.0 7.1 Bopik, Barry (March 29, 2008). "Metropolis is New York by day; Gotham City is New York by night" . สืบค้นเมื่อ March 28, 2013 .
↑ 8.0 8.1 "Film locations for Batman Begins " . Movie-locations.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ April 23, 2019. สืบค้นเมื่อ December 25, 2010 .
↑ 9.0 9.1 9.2 Otto, Jeff (June 5, 2006). "Interview: Christopher Nolan" . IGN . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 31, 2012. สืบค้นเมื่อ November 6, 2006 .
↑ 10.0 10.1 J.S., Brent (June 12, 2011). "Juicy Plot Details Revealed as The Dark Knight Rises Moves to Pittsburgh" . Reelz Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ August 11, 2011. สืบค้นเมื่อ June 15, 2011 .
↑ 11.0 11.1 Vancheri, Barbara (August 21, 2011). "Fans glimpse final round of 'Dark Knight' filming" . Pittsburgh Post-Gazette . สืบค้นเมื่อ August 23, 2011 .
↑ 12.0 12.1 Wigler, Josh (February 15, 2012). " 'Dark Knight Rises' Meets... Donald Trump?" . MTV . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 30, 2011. สืบค้นเมื่อ February 15, 2012 .
↑ 13.0 13.1 "Gridlock in Gotham: 'Dark Knight' filming in Newark likely to cause massive traffic delays this week" , The Star-Ledger , November 2, 2011, สืบค้นเมื่อ November 5, 2011
↑ 14.0 14.1 " 'The Dark Knight Rises' to film in Newark" , New York Post , November 3, 2011, สืบค้นเมื่อ November 5, 2011
↑ 15.0 15.1 Di Ionno, Mark (November 5, 2011). "Di Ionno: Trying to unmask Newark's secret identity as a Batman film location" . The Star-Ledger .
↑ Safire, William (July 30, 1995). "ON LANGUAGE; Jersey's Vanishing 'New' " . The New York Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 7, 2008.
↑ Steranko, Jim (1970). The Steranko History of Comics . Reading, PA: Supergraphics. p. 44. ISBN 978-0-517-50188-7 .
↑ Burrows, Edwin G. and Mike Wallace. Gotham: A History of New York City to 1898 . (Oxford University Press, 1999), 417.
↑ "Gotham" . World Wide Words. February 6, 1999. สืบค้นเมื่อ July 13, 2011 .
↑ Lowbridge, Caroline (January 1, 2014). "The real Gotham: The village behind the Batman stories" . BBC News . สืบค้นเมื่อ June 20, 2015 .
↑ The World's Greatest Super Heroes , August 13, 1978. DC Comics.
↑ World's Finest Comics #259, October–November 1979
↑ The New Adventures of Superboy #14, October 1981. DC Comics.
↑ 24.0 24.1 "Review: 'Suicide Squad' " . Asbury Park Press . August 5, 2016.
↑ 25.0 25.1 " "Suicide Squad": The Biggest Revelations From The Latest DC Film" . CBR.com . August 7, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-08-19. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05 .
↑ Blakinger, Keri (March 8, 2016). "From Gotham to Metropolis: A look at NYC's best nicknames" . Daily News . New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 9, 2016. สืบค้นเมื่อ March 1, 2021 .
↑ DC Comics Presents #18, February 1980
↑ The New Adventures of Superboy #22, October 1981
↑ Action Comics #451, September 1975. DC Comics.
↑ Superman: The Man of Steel #1, October 1986. DC Comics.
↑ Secret Files & Origins Guide to the DC Universe 2000 #1 (March 2000)
↑ " 'Batman v Superman': Are Metropolis and Gotham City that close?" . Screenertv.com . March 25, 2016.
↑ Atlas of the DC Universe . Mayfair Games.
↑ 'Batman: Gates to Gotham , May 2011. DC Comics.
↑ Burgas, Greg (April 13, 2010). "Dark Knight, Dark City" . Comic Book Resources . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05 .
↑ Detective Comics #740, January 2000. DC Comics.
↑ O'Neil, Dennis. Afterword. Batman: Knightfall, A Novel . New York: Bantam Books. 1994. 344.
↑ 38.0 38.1 38.2 "Dark Knight's kind of town: Gotham City" . Today . Associated Press. July 20, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05 .
↑ Bruce Timm and Eric Radomski, audio commentary for "On Leather Wings", Batman: The Animated Series , Warner Bros, Volume One box set DVD.
↑ Batman (vol. 2) #2, December 2011. DC Comics.
↑ Bros, Warner (2008-07-20). "Dark Knight's kind of town: Gotham City" . TODAY.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-02-18. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27 .
↑ Travel (February 27, 2008). "Helsinki: a cruiser's guide" . Telegraph . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 14, 2013 .
↑ Grant, Alan (w), Breyfogle, Norm (a). "The Destroyer Part One: A Tale of Two Cities" Batman 474 (February 1992), DC Comics
↑ Grant, Alan (w), Sprouse, Chris, Anton Furst (p), Patterson, Bruce (i). "The Destroyer Part Two: Solomon" Legends of the Dark Knight 27 (February 1992), DC Comics
↑ Grant, Alan (w), Aparo, Jim (p), DeCarlo, Mike (i). "The Destroyer Part Three" Detective Comics #641 (February 1992), DC Comics
↑ Ennis, Garth (w). John McCrea (a). "A Rage in Arkham". Hitman . April 1996. DC Comics.
↑ Detective Comics #784–786. DC Comics.
↑ More Fun Comics #94. DC Comics.
↑ Secret Origins #50. DC Comics.
↑ Adventure Comics #89. DC Comics.
↑ Sensation Comics #25. DC Comics.
↑ Palmiotti, Jimmy ; Gray, Justin (w); Moritat (a). All Star Western Vol. 1: Guns and Gotham (November 6, 2012). DC Comics. (Reprints issues 1–6).
↑ Detective Comics #488–490, 492, 494, 495, 504, 507. DC Comics.
↑ 54.0 54.1 54.2 "Gotham: The Evolution of Batman's Hometown" . Den of Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-05-04. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27 .
↑ "Gotham: The Legend Reborn Preview Special: Behind The Shadows (Part 3)" เก็บถาวร กันยายน 3, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Fox Broadcasting Company . Retrieved August 30, 2014.
↑ Swartz, Tracy (March 25, 2019). " 'Batwoman' TV pilot filming scenes in Chicago this week" . Chicago Tribune . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2019. สืบค้นเมื่อ April 7, 2019 .
↑ Goldberg, Lesley (May 17, 2018). "Batwoman to Make in 'Arrow'-verse Debut in Next Crossover" . Hollywood Reporter . สืบค้นเมื่อ May 17, 2018 .
↑ 58.0 58.1 Daly, Steve (June 19, 1992). "Sets Appeal: Designing 'Batman Returns' " . Entertainment Weekly . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 10, 2008. สืบค้นเมื่อ December 25, 2010 .
↑ Hanson, Matt (2005). Building Sci-fi Moviescapes: The Science Behind the Fiction (ภาษาอังกฤษ). Gulf Professional Publishing. ISBN 978-0-240-80772-0 .
↑ 60.0 60.1 60.2 Luis, Eric (2019-10-30). "The Many Inspirations For Every Onscreen Portrayal Of Gotham City" . Ranker (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-27 .
↑ McCarthy, Todd (June 14, 1992). "Review: "Batman Returns" " . Variety . สืบค้นเมื่อ December 25, 2010 . Lensed seemingly entirely indoors or on covered sets, pic is a magnificently atmospheric elaboration on German expressionism. Its look has been freshly imagined by production designer Bo Welch, based on the Oscar-winning concepts of the late Anton Furst in the first installment. Welch's Gotham City looms ominously over all individuals, and every set-from Penguin's aquarium-like lair and Shreck's lavish offices to Bruce Wayne's vaguely "Citizen Kane"-like mansion and simple back alleys-is brilliantly executed to maximum evocative effect
↑ Daly, Steve (June 19, 1992). "Sets Appeal: Designing 'Batman Returns' " . Ew.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 10, 2008. สืบค้นเมื่อ December 25, 2010 .
↑ Grobar, Matt (November 7, 2019). "How 'Once Upon A Time In Hollywood' Production Designer Barbara Ling Brought Quentin Tarantino's Favorite Restaurants Back Into The '60s — Production Value Video Series" . Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2021. สืบค้นเมื่อ February 10, 2020 .
↑ "Film locations for Batman & Robin " . Movie-locations.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 29, 2010. สืบค้นเมื่อ December 25, 2010 .
↑ "Batman & Robin – Gotham City" . Angelfire.com. สืบค้นเมื่อ December 25, 2010 .
↑ "Barbara Ling's no-holds-barred production design makes Gotham look more surreal than ever" . Shoestring.org. สืบค้นเมื่อ December 25, 2010 .
↑ Howe, Desson. " 'Batman Forever': Robin Debuts" . The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2009. สืบค้นเมื่อ March 7, 2022 . Departing from former "Batman " director Tim Burton's gothic approach to New York, Schumacher and production designer Barbara Ling compulsively layer the background with a] futuristic city design that seems to aim for "Blade Runner " by way of "Teenage Mutant Ninja Turtles
↑ Barbara Ling, Bigger, Bolder, Brighter: The Production Design of Batman & Robin . 2005. Warner Home Video
↑ "These Are the Cities Standing in for Gotham in 'The Batman' " . Distractify. March 4, 2022. สืบค้นเมื่อ March 6, 2022 .
↑ "Zack Snyder Turned Gotham City and Metropolis into the Bay Area" . Wired . July 11, 2015.
↑ Burr, Ty (March 24, 2016). " 'Batman v Superman' is dark and chaotic" " . Boston Globe (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2016. สืบค้นเมื่อ March 7, 2022 .
↑ "Batman V Superman Concept Art: Early Doomsday & Gotham City Designs" . ScreenRant (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-02-13. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27 .
↑ Kilday, Gregg (July 23, 2018). "Harley Quinn Spinoff Film 'Birds of Prey' Among Latest California Tax Credit Recipients" . The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2022. สืบค้นเมื่อ March 7, 2022 .
↑ "The Design of 'Joker' Just Might Make You Sympathize With the Villain" . www.backstage.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27 .
↑ " 'The Batman' Director Matt Reeves Wants to Put You Off-Kilter" . Cnet. March 6, 2022. สืบค้นเมื่อ March 6, 2022 .
↑ Oller, Jacob (February 21, 2020). " 'The Batman' Suits Up for the Graveyard Shift in Bat-Cycle Set Photos" . Syfy Wire . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2020. สืบค้นเมื่อ February 21, 2020 .
↑ Flaherty, Jess (March 11, 2020). "Liverpool turns into Gotham city as 'The Batman' filming preparation gets underway" . Liverpool Echo . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2020. สืบค้นเมื่อ March 13, 2020 .
↑ Roche, Matthew (October 20, 2020). "Exclusive Photos – The Batman filming in Chicago Loop" . Reel Chicago. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 18, 2022. สืบค้นเมื่อ January 24, 2022 .
↑ Davis, Brandon (October 19, 2020). "The Batman Set Shows Dark, Gritty Gotham With Easter Eggs in Exclusive Set Video" . ComicBook.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 25, 2020. สืบค้นเมื่อ January 24, 2022 .
↑ " 'The Batman' Review: A Tortured Robert Pattinson Goes Even Darker Than 'The Dark Knight' " . Variety . February 28, 2022. สืบค้นเมื่อ March 6, 2022 .