กองพลทหารราบที่ 4 เป็นกองพลทหารราบของกองทัพบกไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพภาคที่ 3[1][2]
ประวัติ
กำลังพลชุดแรกของกองพลทหารราบที่ 4 เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2419 - 2430 ช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 พลตรีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้นำกำลังทหารจากกรุงเทพฯ และกำลังจากส่วนภูมิภาคสนธิกำลังไปปราบปรามการก่อการกำเริบในสงครามปราบฮ่อ จากนั้นเมื่อสงครามสิ้นสุดลงจึงได้แบ่งกำลังบางส่วนในพื้นที่ภาคเหนือเพื่อรักษาความสงบ ถึงถือว่ากองกำลังชุดนี้เป็นกำลังเริ่มแรก[3]
ในพื้นที่ภาคเหนือช่วงปี พ.ศ. 2446 หน่วยทหารในพื้นที่ประกอบไปด้วยกำลัง 3 กองพล คือ กองพลที่ 6 ตั้งอยู่ที่นครสวรรค์ กองพลที่ 7 ตั้งอยู่ที่พิษณุโลก และกองพลที่ 8 ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงกลาโหม คือพระยาสีหราชเดโช[3]
ในปี พ.ศ. 2464 ได้มีการจัดตั้ง กองทัพที่ 3 ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก มีหน่วยขึ้นตรงคือ กองพลที่ 6, กองพลที่ 7 และกองพลที่ 5 ก่อนจะย้ายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2472 และปรับส่วนราชการ ยุบกองพลที่ 7 และกองพลที่ 8 เหลือเพียงกองพลที่ 6 และหน่วยขึ้นตรงในสังกัดกองพลที่ถูกยุบได้ไปขึ้นตรงกับกองพลที่ 6[3]
กระทั่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 กองพลที่ 6 ได้ถูกยุบและกลายเป็นจังหวัดทหารบกนครสวรรค์ หน่วยขึ้นตรงต่าง ๆ ได้เปลี่ยนการขึ้นตรงมาที่กรุงเทพมหานคร เวลานั้นประกอบไปด้วย กองพันทหารราบที่ 28, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 8 ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการย้ายกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 8 ไปที่จังหวัดปราจีนบุรี กำลังที่เหลืออีก 2 กองพัน และเกิดการปรับเปลี่ยนอัตรากำลังและโครงสร้างอีกหลายครั้ง[3]
จากนั้นในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้มีคำสั่งมาที่มณฑลทหารบกที่ 4 ซึ่งมี พันเอกหลวงหาญสงครามเป็นผู้บัญชาการจัดตั้งกองกำลังระดับกองพล ชื่อว่า กองพลที่ 4 มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ รับภารกิจในการเข้าไปยึดครองพื้นที่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า ซึ่งสามารถยึดเมืองโก เมืองเสน เมืองพยาค เมืองเชียงแสน เมืองยอง เมืองยู้ เมืองเสี้ยว และพื้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำหลวย[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ได้ย้ายที่ตั้งจากจังหวัดนครสวรรค์ไปยังจังหวัดพิษณุโลก และมีสถานะเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพบก และปรับมาขึ้นตรงกับภาคทหารบกที่ 3 ในปี พ.ศ. 2501 และเปลี่ยนชื่อเป็น กองทัพภาคที่ 3 และเปลี่ยนชื่อเป็น กองพลทหารราบที่ 4 เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2526[3]
หน่วยขึ้นตรง
รายนามผู้บัญชาการ
รายนามผู้บัญชาการ[4]
|
ลำดับ
|
นาม
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
หมายเหตุ
|
1
|
พลตรี ประพันธ์ กุลพิจิตร
|
1 มกราคม พ.ศ. 2500 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2500
|
|
2
|
พลตรี อรรถ ศศิประภา
|
30 ธันวาคม พ.ศ. 2500 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506
|
|
3
|
พลตรี สำราญ แพทยกุล
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 - 1ตุลาคม พ.ศ. 2505
|
|
4
|
พลตรี ประเสริฐ เสนานิกรม
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - 1ตุลาคม พ.ศ. 2507
|
|
5
|
พลตรี พนม โชติพิมาย
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508
|
|
6
|
พลตรี อยู่รบ กรเพ็ชร์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 - 1 เมษายน พ.ศ. 2513
|
|
7
|
พลตรี พนม โชติพิมาย
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514
|
|
8
|
พลตรี การุญ บุญบันดาล
|
1 เมษายน พ.ศ. 2518 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516
|
|
9
|
พลตรี สีมา ปาณิกบุตร
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520
|
|
10
|
พลตรี พร้อม ผิวนวล
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524
|
|
11
|
พลตรี รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525
|
|
12
|
พลตรี ศิริ ทิวะพันธุ์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528
|
|
13
|
พลตรี เจอ โพธิ์ศรีนาค
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531
|
|
14
|
พลตรี จำกัด กลันทะกะสุวรรณ
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533
|
|
15
|
พลตรี สมหมาย วิชาวรณ์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536
|
|
16
|
พลตรี ประยุทธ ทัพเจริญ
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 1 เมษายน พ.ศ. 2540
|
|
17
|
พลตรี ชลอ ทองศาลา
|
1 เมษายน พ.ศ. 2540 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542
|
|
18
|
พลตรี โตมร กิตติโสภณ
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 1 เมษายน พ.ศ. 2545
|
|
19
|
พลตรี สุเทพ โพธิ์สุวรรณ
|
1 เมษายน พ.ศ. 2545 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546
|
|
20
|
พลตรี ธวัชชัย วัฒนะ
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - 1 เมษายน พ.ศ. 2548
|
|
21
|
พลตรี ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
|
1 เมษายน พ.ศ. 2548 - 28 เมษายน พ.ศ. 2549
|
|
22
|
พลตรี ชัยณรงค์ ธนารุณ
|
28 เมษายน พ.ศ. 2549 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
|
|
23
|
พลตรี สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551
|
|
24
|
พลตรี สนธิศักดิ์ วิทยาเอนกนันท์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 -1 ตุลาคม พ.ศ. 2553
|
|
25
|
พลตรี เกษม ธนาภรณ์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555
|
|
26
|
พลตรี คู่ชีพ เลิศหงิ่ม
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557
|
|
27
|
พลตรี นพพร เรือนจันทร์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
|
|
28
|
พลตรี อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
|
|
29
|
พลตรี อุกฤษฎ์ นุตคำแหง
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
|
|
30
|
พลตรี อำนาจ ศรีมาก
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564
|
|
31
|
พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565
|
|
32
|
พลตรี ณรงค์ฤทธิ ปาณิกบุตร
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567
|
|
หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
ดูเพิ่ม
อ้างอิง