กลุ่มสายการบินลาตัม

กลุ่มสายการบินลาตัม จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทจำกัดมหาชน
การซื้อขาย
แม่แบบ:Bcs
NYSE: LTM
ISINCL0000000423 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมธุรกิจการบิน
ก่อตั้ง2555
สำนักงานใหญ่ซานเตียโก ชิลี[1][2]
บุคลากรหลักอิกนาซิโอ กูเอโต[3] (ประธาน)
เอนริเก กูเอโต (ประธานบริหาร)
ผลิตภัณฑ์เที่ยวบิน
ขนส่งสินค้า
ซ่อมบำรุงอากาศยาน
บริการบริการสายการบิน
รายได้เพิ่มขึ้น 8.494 พันล้านดอลลาร์ (2560)[4]
รายได้จากการดำเนินงาน
1,078,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2566) Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 200.7 ล้านดอลลาร์ (2560)
สินทรัพย์ลดลง 18.798 พันล้านดอลลาร์ (2560)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 4.267 พันล้านดอลลาร์ (2560)
พนักงาน
43,000 คน (2560)
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.latam.com

ลาตัม (สเปน: LATAM) คือกลุ่มทุนสายการบินของประเทศชิลี มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงซันติอาโก[5][6] ถือเป็นกลุ่มทุนสายการบินขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา[7][8] ประกอบไปด้วยบริษัทลูกในประเทศอาร์เจนตินา, บราซิล, โคลอมเบีย, เอกวาดอร์, ปารากวัย และเปรู[9][10][11][12][13]

ประวัติ

การรวมทุน

สายการบินลัน (LAN) จากประเทศชิลี และสายการบินตัง (TAM) จากประเทศบราซิล ได้ทำข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ข้อผูกพันความร่วมมือในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554 และหนังสือสัญญาที่จะรวมกิจการในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555[14][15][16] โดยผู้ถือหุ้นสายการบินตังได้เห็นชอบการควบรวมกิจการโดยสายการบินลัน[17] เอนริเก กูเอโต อดีตประธานบริหารของสายการบินลัน ไปเป็นประธานบริหารของลาตัม[18] และเมารีซียู โรลิง อามารู อดีตรองประธานของสายการบินตัง ไปเป็นประธานของลาตัม[19]

การอนุมัติจากรัฐบาล

รัฐบาลชิลีได้อนุมัติข้อตกลงจัดตั้งลาตัมเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยมีเงื่อนไขทั้งหมด 11 ข้อ ส่วนหนึ่งในนั้นได้แก่ การโอนเวลาการบินบางส่วนที่ท่าอากาศยานนานาชาติเซาเปาลู–กวารุลยุสให้แก่คู่แข่งที่สนใจเปิดเส้นทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซในซันติอาโกของชิลี การออกจากพันธมิตรทางการบินกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งระหว่างวันเวิลด์กับสตาร์อัลไลแอนซ์ และการจำกัดการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารระหว่างบราซิลกับชิลี[20] ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลบราซิลได้อนุมัติข้อตกลงโดยกำหนดเงื่อนไขคล้ายคลึงกับรัฐบาลชิลี คือ ลาตัมต้องเลือกพันธมิตรการบินภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 และต้องลดจำนวนเที่ยวบินระหว่างเซาเปาลูกับซันติอาโกลง ในขณะนั้นสายการบินตังมีอยู่ 2 เที่ยว ในขณะที่สายการบินลันมีอยู่ 4 เที่ยว ทำให้สายการบินลันต้องลดจำนวนเที่ยวลง 2 เที่ยว เพื่อให้คู่แข่งเปิดเส้นทางนี้เพิ่ม[21] ในวันที่ 7 มีนาคม พ..ศ. 2556 กลุ่มสายการบินลาตัมได้ประกาศเลือกกลุ่มวันเวิลด์เป็นพันธมิตรสายการบิน ทำให้สายการบินตังออกจากกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ในไตรมาสที่ 2 ของ พ.ศ. 2557 เพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มวันเวิลด์[22]

การเปลี่ยนชื่อกิจการ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศว่าสายการบินทั้งหมดในกลุ่มลาตัมจะเปลี่ยนชื่อเป็นลาตัมโดยสมบูรณ์ และจะทำสีเครื่องบินใหม่ทั้งหมดภายใน พ.ศ. 2561[23][24] เครื่องบินลายลาตัมเริ่มทำสีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559

กลุ่มสายการบินลาตัมยังคงดำเนินการเปลี่ยนชื่อกิจการและคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 การเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น ทั้งรูปแบบที่ปรากฏบนเครื่องบิน สำนักงาน เคาน์เตอร์บริการที่สนามบิน เว็บไซต์ และเครื่องแบบเป็นต้น การเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้เกิดขึ้นโดยส่วนมากเป็นประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสาร เช่น การตกแต่งห้องโดยสาร ห้องรับรองพิเศษในเซาเปาลูและซันติอาโกซึ่งปัจจุบันเปิดใหับริการเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายห้องรับรองสมาชิกสะสมไมล์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ระบบความบันเทิงบนเครื่องสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่[25]

การลงทุนของสายการบินเดลตาและการออกจากกลุ่มวันเวิลด์

วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562 สายการบินเดลตาประกาศที่จะซื้อหุ้นกลุ่มลาตัมจำนวนร้อยละ 20 หรือราว 1.9 พันล้านดอลลาร์เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคลาตินอเมริกา นอกจากนี้เดลตากำลังจ่ายค่าธรรมเนียมที่กลุ่มลาตัมลาออกจากกลุ่มวันเวิลด์ และเงินคำสั่งซื้อเครื่องแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี[26][27][28]เมีอวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 กลุ่มลาตัมออกจากสมาชิกกลุ่มวันเวิลด์เริ่มวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การเงินล้มละลาย

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มสายการบินลาตัมถูกบทหมาย 11 การล้มละลาย ที่ สหรัฐ จาก การระบาดทั่วของโควิด-19ของรัฐบาลชิลี

ผู้ถือหุ้น

โครงสร้างผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รายนามผู้ถือหุ้น อัตราส่วน
ชิลี กลุ่มกูเอโต 27.91%
ชิลี กองทุนบำเหน็จบำนาญชิลี (อาเอเฟเป) 21%
ประเทศกาตาร์ กาตาร์แอร์เวย์ 10.03%
ชิลี กลุ่มเอเบลน 5.93%
ชิลี กลุ่มเบเตีย 5.5%
สหรัฐอเมริกา ตราสารอเมริกัน (เอดีอาร์) 3.98%
บราซิล กลุ่มอามารู 3%
นักลงทุนต่างชาติ 10.2%
อื่น ๆ 12.2%

การปฏิบัติงาน

โบอิง 787-9 ดรีมไลเนอร์ ของลาตัม ชิลี ที่ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในเดือนกรกฎาคม 2559

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กลุ่มสายการบินลาตัมเป็นกลุ่มสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในแง่เครือข่ายการบิน โดยให้บริการด้วยเครื่องบินจำนวน 315 ลำ ไปสู่จุดหมายปลายทาง 137 แห่ง ใน 24 ประเทศ และมีเครื่องบินขนส่งสินค้า 18 ลำเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง 144 แห่งใน 29 ประเทศ[29]

สายการบินลาตัมมีฐานการบินหลัก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซ ในกรุงซันติอาโก ชิลี, ท่าอากาศยานนานาชาติฆอร์เฆ ชาเบซ ในกรุงลิมา เปรู, ท่าอากาศยานนานาชาติเซาเปาลู–กวารุลยุสในนครกวารุลยุส บราซิล และท่าอากาศยานนานาชาติเอลโดราโดในกรุงโบโกตา โคลอมเบีย และจะหาฐานการบินแห่งใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลเพื่อขยายเส้นทางการบินระหว่างยุโรปกับอเมริกาใต้[30] โบโกตาเพิ่งได้รับการประกาศให้เป็นฐานการบินแห่งใหม่สำหรับภูมิภาคแคริบเบียน[31]

กลุ่มบริษัทลูก

แอร์บัส เอ320นีโอ ของลาตัม บราซิล ที่ท่าอากาศยานนานาชาติซัลกาดู ฟิลยู ใน พ.ศ. 2559
แอร์บัส เอ350-900 ของลาตัม บราซิล ที่ท่าอากาศยานนานาชาติตูลูซ–บลาญักใน พ.ศ. 2559

สายการบินที่กลุ่มลาตัมถือหุ้นอยู่ (ทั้งส่วนใหญ่และส่วนน้อย) มีดังนี้:

ประเทศ สายการบิน
อาร์เจนตินา อาร์เจนตินา ลาตัม อาร์เจนตินา
บราซิล บราซิล ลาตัม บราซิล
ลาตัมการ์โก บราซิล
ชิลี ชิลี ลาตัมแอร์ไลน์
ลาตัมการ์โก ชิลี
ลาตัมแอร์ไลน์ ชิลี
โคลอมเบีย โคลอมเบีย ลาตัม โคลอมเบีย
ลาตัมการ์โก บราซิล
เอกวาดอร์ เอกวาดอร์ ลาตัม เอกวาดอร์
ปารากวัย ปารากวัย ลาตัม ปารากวัย
เปรู เปรู ลาตัม เปรู

อ้างอิง

  1. "LATAM Airlines Group SA". Reuters. August 17, 2018.
  2. "Latam Airlines Group SA Corporate Information". Bloomberg. October 27, 2018.
  3. "LATAM - Board of Directors". latamairlinesgroup.net. สืบค้นเมื่อ 15 May 2017.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  5. "LATAM Airlines Group SA". Reuters. August 17, 2018.
  6. "Latam Airlines Group SA Corporate Information". Bloomberg. October 27, 2018.
  7. https://www.bloomberg.com/profiles/companies/LTM:CI-latam-airlines-group-sa
  8. http://brandz.com/admin/uploads/files/BrandZ_LatAm_2017_Download.pdf
  9. Webber, Jude; Lemer, Jeremy (15 August 2010), "LatAm airlines join consolidation trend", Financial Times, สืบค้นเมื่อ 16 August 2010
  10. Sobie, Brendan (13 August 2010), "LAN and TAM to merge", Flight International, สืบค้นเมื่อ 14 August 2011
  11. "Contact." LATAM Airlines Group. Retrieved on 25 January 2013. "Contact Pdte. Riesco 5711, 20th floor Las Condes Santiago, Chile "
  12. http://i.imgur.com/IvRaefc.jpg
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  14. "BBC News - Chile's Lan and Brazil's Tam merge to create huge airline". Bbc.co.uk. 1970-01-01. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  15. "TAM and LAN announce binding agreement". TAM Linhas Aéreas. 19 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  16. "LAN says signs non-binding deal with TAM to merge". Reuters. 13 August 2010. สืบค้นเมื่อ 13 August 2010.
  17. "BBC News - Chile's Lan and Brazil's Tam merge to create huge airline". Bbc.co.uk. 1970-01-01. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  18. "Enrique Cueto to be CEO of new LAN-TAM parent". Flight International. 13 August 2010. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  19. "LAN and TAM aim to complete merger by mid 2011". Flight Global. 14 August 2010. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  20. Seabra, Luciana (21 September 2011). "Tribunal chileno aprova fusão de TAM e LAN com 11 condições" (ภาษาโปรตุเกส). Valor Econômico. สืบค้นเมื่อ 26 September 2011.
  21. Rodrigues, Eduardo; Froufe, Célia (14 December 2011). "Com restrições, CADE aprova fusão TAM/Lan" (ภาษาโปรตุเกส). O Estado de S. Paulo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ 15 December 2011.
  22. "LATAM - News Release". www.latamairlinesgroup.net. สืบค้นเมื่อ 15 May 2017.
  23. "LAN and TAM to operate as LATAM with a new livery" เก็บถาวร 2020-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 9 August 2015
  24. "LATAM's entire fleet to have new livery by 2018" retrieved 9 August 2015
  25. Mutzabaugh, Ben (7 August 2015). "So long, LAN and TAM; Airlines will soon fly under LATAM brand". USA Today Online. สืบค้นเมื่อ 31 August 2015.
  26. https://www.reuters.com/article/latam-airlines-ma-delta-air/delta-to-buy-20-of-latam-for-1-9-billion-in-regional-shake-up-idUSL2N26H1U3
  27. Sider, Alison. "Delta Air Lines to Take 20% Stake in Latam Airlines for $1.9 Billion". WSJ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-27.
  28. "LATAM Intends To Leave The oneworld Alliance". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-09-27.
  29. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  30. "LATAM Airlines Group has to undergo a delicate balance of short term pain for strategic gain". www.centreforaviation.com. Centre for Aviation. สืบค้นเมื่อ 4 September 2015.
  31. Bohorquez Aya, Edwin (7 July 2015). "América Latina le habla duro a". El Espectador (Spanish). สืบค้นเมื่อ 5 August 2015.

praiasdefortaleza

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!