Chemical compound
กลีเซอรอล (อังกฤษ : glycerol ) หรือ กลีเซอรีน (glycerine, glycerin) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่มีสูตรเคมีคือ C3 H8 O3 ลักษณะเป็นของเหลวหนืดไม่มีสี ไม่มีกลิ่น รสหวาน มีน้ำหนักโมเลกุล 92.1 g/mol และระดับความไวไฟ 1 ตาม NFPA 704 หรือต้องให้ความร้อนสูงก่อนจึงจะลุกติดไฟ[ 5] [ 6] กลีเซอรอลถูกสกัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1783 โดยคาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ นักเคมีชาวสวีเดน และตั้งชื่อโดยมีแชล-เออแฌน เชฟเริล นักเคมีชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1811[ 7] [ 8]
กลีเซอรอลเป็นสารพอลิออล ชนิดน้ำตาลแอลกอฮอล์ ที่มีอะตอมคาร์บอนเป็นแกนกลาง 3 อะตอม และเป็นโปรไครัล หรือสารที่โครงสร้างสามารถพัฒนาเป็นไครัลได้ การผลิตกลีเซอรอลมักได้จากไตรกลีเซอไรด์ จากพืชและสัตว์ ทำปฏิกิริยาซาปอนิฟิเคชัน (saponification) กับโซเดียมไฮดรอกไซด์ ได้สบู่ และกลีเซอรอล นอกจากนี้ยังสามารถสังเคราะห์ได้จากโพรพีลีน ที่ทำปฏิกิริยาจนได้เอพิคลอโรไฮดริน และถูกไฮโดรไลซ์จนได้กลีเซอรอล[ 9] ในร่างกายใช้กลีเซอรอลเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์และฟอสโฟลิพิด เมื่อร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน จะดึงกลีเซอรอลจากเนื้อเยื่อไขมัน แล้วเปลี่ยนเป็นกลูโคส ผ่านกระบวนการสร้างกลูโคส ก่อนจะเข้าสู่กระแสเลือด[ 10]
กลีเซอรอลมีคุณสมบัติเป็นไฮโกรสโคปิก (hygroscopic) หรือสารที่สามารถดูดซึมหรือดูดซับความชื้นจากอากาศ จึงผสมเข้ากับน้ำได้ นอกจากนี้ยังละลายในแอซีโทน ได้เล็กน้อย แต่ไม่ละลายในคลอโรฟอร์ม [ 11]
กลีเซอรอลเป็นสารที่มีพิษน้อย คือมีแอลดี 50 ในหนู (ทางปาก) อยู่ที่ 12600 mg/kg[ 12] กลีเซอรอลใช้เป็นตัวทำละลาย วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล และวัตถุกันเสีย ในอาหาร โดยมีเลขอี คือ E422[ 13] นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านจุลชีพและไวรัส จึงใช้รักษาบาดแผลและเป็นยาระบาย รวมถึงเป็นสารหล่อลื่นและสารกักเก็บความชุ่มชื้นในเครื่องสำอาง[ 14]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0302" . National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
↑ "glycerin_msds" .
↑ Segur, J. B.; Oberstar, H. E. (1951). "Viscosity of Glycerol and Its Aqueous Solutions". Industrial & Engineering Chemistry . 43 (9): 2117–2120. doi :10.1021/ie50501a040 .
↑ Lide, D. R., บ.ก. (1994). CRC Handbook of Data on Organic Compounds (3rd ed.). Boca Raton, FL: CRC Press. p. 4386.
↑ "Glycerol, Reagent ACS - MSDS" (PDF) . West Liberty University . สืบค้นเมื่อ December 1, 2019 .
↑ "Glycerine - CAMEO Chemicals" . National Oceanic and Atmospheric Administration . สืบค้นเมื่อ December 1, 2019 .
↑ Carl Wilhelm Scheele (1783) "Rön beträffande ett särskilt Socker-Ämne uti exprimerade Oljor och Fettmor" (Findings concerning a particular sweet substance in expressed oils and fatty substances), Kongliga Vetenskaps Academiens Nya Handlingar (New Proceedings of the Royal Academy of Science), 4 : 324-329.
↑ "Glycerol" . Britannica . สืบค้นเมื่อ December 1, 2019 .
↑ Christoph, Ralf; Schmidt, Bernd; Steinberner, Udo; Dilla, Wolfgang; Karinen, Reetta (2006). "Glycerol". Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry . Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry . doi :10.1002/14356007.a12_477.pub2 . ISBN 3527306730 .
↑ "Glucose Can Be Synthesized from Noncarbohydrate Precursors" . National Library of Medicine - National Institutes of Health . สืบค้นเมื่อ December 1, 2019 .
↑ "Glycerol: Properties and Production" (PDF) . Semantic Scholar . สืบค้นเมื่อ December 1, 2019 .
↑ "Glycerine, Lab Grade - MSDS" (PDF) . Fisher Scientific . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ December 1, 2019 .
↑ "Re‐evaluation of glycerol (E 422) as a food additive" . European Food Safety Authority . March 15, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ December 1, 2019 .
↑ "Glycerine: an overview" (PDF) . ACI Science . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ December 1, 2019 .
แหล่งข้อมูลอื่น